หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

## มือใหม่ถ่ายภาพเบื้องต้น ตอนที่ 7 ##


ผมขออนุญาตนำบทความของคุณดัส จากเว็บ Pixpros.net บางส่วนมานำเสนอเป็นตัวอย่างน่ะครับ

ถ้าวันนี้จะเริ่มถ่ายภาพ มาโคร ?? จะต้องมีอะไรบ้าง

1. กล้อง อิอิ แน่นอน ต้องมี

ถ้าเป็นกล้อง DSLR ก็ต้องดูต่อ แต่ถ้าเป็นกล้อง compact
ทุกกล้องสามารถถ่าย มาโครได้ ให้หาคู่มือมาดู แล้ว อ่านไปจนกระทั่งสามารถปรับกล้อง
เข้าสู่ โหมด มาโคร ได้นะจ๊ะ

2. เลนส์มาโคร สำหรับพวก DSLR เลนส์นี้จะมีคุณสมบัติพิเศษ
สามารถทำให้เราเข้าใกล้วัตถุได้มาก เมือเข้าใกล้ได้มาก ทำให้วัตถุนั้น มีขนาดใหญ่ขึ้น
ตามลำดับ

ทีนี้ ถ้าไม่มีเลนส์มาโคร ก็อย่างที่บอก ... อาจใช้เลนส์ tele แทนได้ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป

3. Flash ไม่แนะนำแฟลชหัวกล้อง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องใช้

4. สายลั่นชัตเตอร์ และ สายแยกแฟลช .... สายลั่นชัตเตอร์ ไม่บังคับว่าต้องมี
แต่ถ้ามี จะทำให้การถ่ายสะดวกดาย

5. ขาตั้งกล้อง .... ถ้าถ่ายคนเดียว อาจต้องใช้ แต่ถ้าถ่ายหลายคน แบบ มาโครสามัคคี ก็ไม่ต้อง
สำหรับท่านที่ยังไม่มีขาตั้งกล้อง แนะนำให้ซื้อแบบกางราบได้ ... เผื่อเจอทากและอยากถ่าย จะได้กางได้

6. อุปกรณ์ประกอบฉาก ได้แก่ ผ้าดำ กระจก ฟอกกี้ กระดาษฟรอยด์ ฝากระป๋องนม ....


เมื่อมีอุปกรณ์ครบแล้ว ก็ไปเริ่มถ่ายมาโครกันได้เลย

เมื่อเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อย .... (สมมติว่ามีก็แล้วกันนะ)

เริ่มไปถ่ายมาโครกันได้เลย

ก่อนอื่น ต้องเอาความชอบส่วนตัวก่อนว่า อยากได้ภาพมาโครของอะไร

บางคนชอบดอกไม้

บางคนชอบแมลง

บางคนชอบสัตว์ที่น่ากลัวกว่านั้น

บางคนอาจชอบอะไรที่เป็นนามธรรม เช่น หยดน้ำ หรือ ซากจักจั่น อะไรประมาณนี้

เมื่อเลือกวัตถุที่จะถ่ายได้แล้ว ก็หาว่า ที่ที่วัตถุนั้นอยู่หน่ะ มันที่ไหน เราจะไปถ่ายได้อย่างไร จัดแจงทุกอย่างเสร็จก็ไป

เมื่อมาถึงที่ เอ้ย ถึงสถานที่ที่จะถ่ายแล้ว .... แน่นอน ทุกคนมีเป้าหมายใจดำแล้วว่าจะถ่ายอะไร

ถ้ายังไม่รู้ ก็ลองมอง ๆ หาสิ่งที่เราสนใจ อ๊ะ พบแล้ว (สมมติ) ว่าจะถ่ายอะไรซักอย่างหนึ่ง

การเลือกวัตถุที่จะถ่าย มีหลักการอย่างนี้นะ

1. อย่าเพิ่งรีบถ่าย ... บางคนเห็นดอกไม้ ก็รีบถ่าย เห็นแมลงก็รีบถ่าย พิจารณาอะไรซักนิดหน่อย

2. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของสิ่งที่จะถ่าย

หลายคนมองข้ามจุดนี้ ภาพเลยออกมาด้อย โดยเลี่ยงไม่ได้

จะถ่ายดอกไม้ก็เลือกดอกให้มันสวยหน่อย สมบูรณ์หน่อย กลีบดอกครบถ้วน ไม่ขาดไม่แหว่ง หรือโดนแมลงกัดแทะ สีสันสวยงาม

จะถ่ายแมลงก็เลือกหน่อย ... เอาที่มันน่าสนใจ อาจเป็นเรื่องสี หรือผิวหนัง หรือ อะไรก็ได้

3. ตรวจสอบองค์ประกอบรอบข้าง ว่าเอื้ออำนวยให้ภาพสวยหรือไม่
บางที่สิ่งที่เราจะถ่ายมันอยู่ท่ามกลางสิ่งไม่น่าถ่าย เช่นนนน

ผีเสื้อกำลังเกาะอยู่ที่ซากต๊ะแตนตาย หรือ หนอนกะลังเกาะ ..... คลี่ อยู่ นี่ก็ไม่น่าถ่าย

ดังนั้น ก่อนถ่ายมาโคร สิ่งที่ต้องทำ เน้นเลยนะจ๊ะ ว่าต้องทำ ... คือ


เลือกสิ่งที่จะถ่าย ให้ perfect ที่สุดดดดดดดดดด


แค่นั้นคงยังไม่พอ ภาพมาโครเนี่ย .... นอกจากวัตถุที่เราถ่ายจะสำคัญแล้ว

ฉากหลัง

ที่หมายถึงภาพที่จะเกิดขึ้นด้านหลังวัตถุ ก็สำคัญพอ ๆ กัน เมื่อได้วัตถุแล้ว
เราต้องเริ่มมองฉากหลังเป็นอันดับต่อไป

ฉากหลังที่ดีเป็นอย่างไร ????

คำตอบคือ .... ตอบไม่ได้ครับ ขึ้นกับวัตถุประสงค์

เอาตามตำราก่อน ... เค้าว่ากันว่า

ฉากหลังที่ดี ย่อมมีความเป็นเอกภาพ เป็นเนิ้อเดียวกัน ไม่แย่งความเด่นไปจากวัตถุที่จะถ่าย ไม่รบกวนสายตา ไม่มีความสับสนเกิดขึ้น ไม่ทำให้สมดุลของภาพเสียไป และไม่อะไรต่อไม่อะไรอีกเยอะ

เอาง่าย ๆ ว่า เลือก เนียน ๆ หน่อย แค่เนี้ยแหละ

ถ้า วัตถุ กับ ฉากหลังเลือกไม่ดี ....

ภาพมาโครของคุณ ด้อยไปแล้ว 80%

การถ่ายภาพมาโคร ในขั้นแรก ผู้ถ่ายจะต้องเข้าใจประเด็นเรื่อง

ความชัด ของภาพ ซะก่อน

คำว่า ความชัด หมายเอาอย่างตื้น ๆ ก็คือ ถ่ายภาพไม่ให้สั่น

แต่ถ้าจะหมายเอาอย่างลึกกว่านั้น นอกจากจะไม่ให้เบลอแล้ว ยังต้องชัด ในจุดที่ควรชัด
และเบลอ ในจุดที่ควรเบลอ ( RBJ อย่าเพิ่งแนะนำ blur tools นะ)

แน่นอน ถ้าจะถ่ายไม่ให้ภาพสั่น speed ชัตเตอร์เป็นเรื่องที่ไปศึกษาเอาเอง

ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อช่วงความชัดก็คือ

ตัว C จ้า อันได้แก่ ทางยาวโฟกัส และ ช่องรับแสง

ทางยาวโฟกัส ยิ่งสั้น ช่วงความชัดจะมากกว่า ทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่า ( อย่าจำว่า ทางยาวโฟกัสสั้น จะชัด ทางยาวโฟกัสยาวจะไม่ชัดนะ ให้จำแบบที่ให้ท่อง)

ช่องรับแสงก็เหมือนกัน ยิ่งช่องใหญ่(เลขน้อย) ช่วงความชัด จะน้อยกว่า ช่องเล็ก (เลขมาก)

อิอิ หมายความว่า

ที่ระยะเท่ากัน ถ้าใช้เลนส์มุมกว้าง ก็จะได้ความชัดมากกว่าใช้เลนส์ เทเล
ถ้าเปิด F 8 ย่อมมีช่วงความชัดมากกว่า F 2.8 เป็นแน่แท้

ภาพนี้ใช้กล้อง DSLR like ของ มินอลต้า Dimage 7i โหมดมาโคร โฟกัสไปที่ดวงตา








กล้องแคนนอน 10 ดี + มาโครทิวบ์ เบอร์ 25 + 70-200 ED canon ขาตั้งกล้อง
(รายละเอียดไม่มั่นใจเท่าไหร่) เช็คความชัดลึกให้คลุมดอกที่ชัด...จัดดอกที่ไม่ชัดให้ถ่วงน้ำหนัก ใช้ดอกชัดอยู่ในจุดตัด และวางเป็นเส้นทะแยง หาฉากหลังที่เคลียร์


มินอลต้า Dimage 7i ....โหมด A มาโคร เอฟ 8


กล้อง Canon 350D
เลนส์ Sigma 17-70, iso 200, F4.5, Speed1/800, ถ่ายที่ช่วงเลนส์ 70mm






มีเคล็ดลับเรื่องการฉีดน้ำดอกไม้มาฝากกันนิดหนึ่งครับ

เคยเห็นกระบอกฉีดน้ำที่เขาใช้ฉีดเพื่อพรมผ้าเวลารีดผ้ามั๊ยครับ....

บางครั้งผมเอาติดตัวไปถ่ายภาพมาโครด้วย......

ตรงหัวจะปรับขนาดรูที่น้ำพุ่งออกมาได้ โดยการหมุนหัวของมัน

เวลาใช้งาน เช่น ประพรมให้ดอกไม้หรือใยแมงมุมมีหยดน้ำมาเกาะ แต่ก็ต้องให้ดูเป็นธรรมชาติด้วย ผมจะปรับไปที่รูเล็กที่สุด

แต่..

แม้จะปรับจนรูเล็กที่สุดแล้วก็ตามเวลาไปฉีดพ่น ก็จะยังไม่เห็นหยดน้ำเป็นธรรมชาติ

ถ้าเราสังเกตุเห็นเวลาเรากดหัวปั๊ม จะมีกลุ่มหยดน้ำกลุ่มที่ 1 เม็ดเล็กสุดแล้วตามที่ปรับได้ จะพุ่งออกไปตามแรงที่พ่น แต่ก็ยังมีหยดน้ำอีกกลุ่มหนึ่งที่พุ่งออกมาด้วย เป็นกลุ่มเล็กๆ เม็ดเล็กกว่า คือ กลุ่มที่ 2 ซึ่งจะไม่พุ่งไปตามแรงกดมากนัก แต่จะปลิวไปตามแรงลมเบา ๆ ได้

ผมจะใช้หยดน้ำกลุ่มที่สองนี่แหล่ะครับที่จะให้ลอยไปลงบนกลีบดอกไม้ จะได้หยดน้ำที่เป็นหยดจริง ๆ โดยที่ผิวของใบหรือกลีบดอกไม่เปียกแบบแฉะเกินไป

ลองดูน่ะครับผม 



ขอจบตอนนี้ไว้เท่านี้นะครับเจอกันตอนหน้าครับ


## มือใหม่ถ่ายภาพเบื้องต้น ตอนที่ 6 ##

    เป็นเรื่องสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งที่เราชาวรุ๊กกี้ควรจะรู้เป็นพื้นฐาน....คือเรื่องความ "ความชัดลึก"

ความชัดลึก....เป็นศัพท์ทางการถ่ายภาพอีกอันหนึ่งที่เราต้องเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ให้ถูกต้องกับภาพในหลากหลายโอกาส.

     ความหมายง่าย ๆ คือ การกำหนดให้ภาพมีความคมชัดที่ระยะทางห่างจากกล้องเท่าไหร่....

สมมุติว่า เรายืนอยู่จุดหนึ่ง ด้านหน้าของเรามีต้นไม้ปลูกเป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง (แถวตอนคือ...ต้นไม้ปลูกถัดกันไป ไกลออกไปเรื่อย ๆ จนสุดตา...ตรงข้ามกับแถวหน้ากระดาน)

ถ้าเราเซ็ทกล้องให้โฟกัสไปที่ต้นไม้ต้นที่ 3 ถัดจากเราไป..ถ้าภาพที่ได้ ชัดเฉพาะต้นไม้ต้นที่ 3 ...เราเรียกว่า ภาพนี้ มี "ความชัดลึก" ต่ำ หรือมี "ความชัดลึก" น้อย

(อย่าไปสับสนกับคำว่า ความชัดน้อย หรือความชัดต่ำ โดยเด็ดขาด น่ะครับ

....................

แต่ถ้าเราเซ็ทกล้องให้ถ่ายที่ต้นไม้ต้นที่ 3 แต่ภาพที่ได้ ชัดจากต้นไม้ต้นที่ 1 ไปจนถึงต้นหลัง ๆ เช่นต้นที่ 20 ด้วย...เราเรียกว่าภาพนี้เป็นภาพที่มี "ความชัดลึกสูง" หรือ ความชัดลึกมาก

โดยปกติทั่วไป ในกล้องระดับเดียวกัน.........ตัวที่จะควบคุมเรื่องความชัดลึกมีเพียงตัวเดียวเท่านั้นคือ รูรับแสงของเลนส์

ถ้าเราตั้งที่รูรับแสงกว้าง (ตัวเลขน้อย) เช่น เอฟ 2.8 หรือ 4 ...เราจะได้ภาพที่มีความชัดลึกต่ำ...เช่นภาพที่เราถ่ายนางแบบ เมื่อเป็นภาพที่มีความชัดลึกต่ำ ฉากหลังที่ไกลออกไปจะเบลอ ไม่ชัด ...แต่นางแบบชัด ทำให้ตัวนางแบบแยกออกจากฉากหลังได้มาก ช่วยทำให้นางแบบเด่นขึ้นด้วย

แต่ถ้าเราทำแบบที่ตรงกันข้ามกัน เช่น เปิดรูรับแสงที่ตัวเลขมากมาก เช่น 16 หรือ 22 รูรับแสงจะแคบ...ภาพที่ได้จะชัดตั้งแต่นางแบบไปจนถึงภูเขาด้านหลัง เราเรียกว่า มี ความชัดลึกสูง

วิธีจำง่าย ๆ....รูรับแสงเล็ก ตัวเลขมาก ชัดลึกมาก
..................รูรับแสงใหญ่ ตัวเลขน้อย ชัดลึกน้อย

การเปิดรูรับแสงน้อยน้อย เพื่อให้มีความชัดลึกต่ำ..จะมีข้อดีอีกอันหนึ่งคือ จะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นมากด้วย (ฝาโอ่งเปิดกว้างมาก ฝนตกแป๊บเดียว น้ำก็เต็มโอ่ง)





ตัวอย่างภาพ....ใช้เลนส์ 80-200 F/2.8

ภาพนี้ตั้งใจให้มีความชัดเฉพาะที่ดอกไม้ ฉากหลังที่เป็นต้นไผ่ให้หลุดโฟกัส แต่ยังอยากให้เห็นเส้นสายของลำไผ่บ้าง จึงไม่เปิดที่หน้ากล้องกว้างสุด คือ 2.8 แต่เปิดให้แคบลงมาอีกนิดที่ 4 ...แต่ก็ถือว่าเป็นภาพที่มีความชัดลึกต่ำ



ใช้กล้องมินอลต้า 7 i ...หน้ากล้อง F/4....ฉากหลังเป็นกลุ่มของดอกไม้อีกชนิดหนึ่ง หลุดโฟกัส แต่เสริมฉากหลังให้กลมกลืนกัน
ข้อสังเกตุ.....กล้องคอมแพ็ค...มักจะให้ความชัดลึกสูงกว่ากล้อง SLR ในค่ารูรับแสงที่เท่ากัน 




หน้ากล้อง F/4 ...โฟกัสที่ดอกไม้ด้านหน้า...ดอกไม้ด้านหลังจะหลุดโฟกัส เป็นการเน้นดอกด้านหน้าให้น่าสนใจมากขึ้น



ตัวอย่างภาพอื่นๆครับ













"ความชัดลึกสูง" คือภาพมีความคมชัดตั้งแต่ด้านหน้าไปถึงด้านหลัง

เราถ่ายนางแบบชัด ฉากหลังเป็นภูเขาไม่ชัด เห็นแค่ลาง ๆ เราเรียกว่า มีความชัดลึก "ต่ำ"

แต่ถ้าในมุมเดียวกัน เราถ่ายนางแบบชัด และภูเขาด้านหลังชัดด้วย เราเรียกว่า มีความชัดลึก "สูง"

แล้วเราจะถ่ายภาพที่มีความชัดลึกสูงได้อย่างไร ?


ตัวที่ควบคุมความชัดลึกสูง โดยทั่วไปเราจะมุ่งเน้นไปที่เรื่อง รูรับแสง แต่เพียงอย่างเดียว

ถ้าเราต้องการให้ภาพมีความชัดลึกสูง เราก็ต้องตั้งรูรับแสงที่รูเล็ก ๆ หรือ ค่ารูรับแสงสูง ๆ (ตัวเลขมากมาก) เช่น 16 หรือ 22 


การตั้งค่ารูรับแสงที่แคบ...จะสะดวกในโหมดการถ่ายภาพ A และ M เพราะสามารถตั้งรูรับแสงได้ล่วงหน้า....ส่วน S เราต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ก่อน จึงคุมความชัดลึกได้ยากกว่า

สิ่งที่ต้องระวังในการถ่ายภาพที่ต้องตั้งรูรับแสงแคบ ๆ คือ เราจะได้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จึงต้องระวังความสั่นไหวของภาพด้วย 





ภาพนี้โฟกัสไปที่กลุ่มคนบนก้อนหินตรงหน้าผา...ตั้งรูรับแสงที่ 11 ในโหมด A
ภาพจะชัดหมดตั้งแต่ด้านหน้าถึงด้านหลัง



ภาพนี้...ใช้กล้องมินอลต้า dimage 7i...โหมด A  F/11 โฟกัสไปตรงจุด 1 ใน 3 ของระยะทางในแนวใกล้ไกล จะได้ภาพชัดทั่วทั้งภาพ

1 ใน 3 ...คือหลักการ Hyperfocal แต่ผมเอามาประยุกต์ใช้ให้ง่ายที่สุด...คือ ในภาพลักษณะแบบนี้ เราต้องการภาพที่มีความชัดลึกให้มากที่สุด นอกจากการปรับรูรับแสงแคบแล้วเราจะใช้จุดไหนเป็นจุดโฟกัส

ให้เราแบ่งพื้นที่จากจุดที่เรายืน ไปจนถึง จุดไกลสุด ออกเป็นสามส่วน....คือ ใกล้ กลาง และไกล...ให้โฟกัสไปที่จุดใกล้ต่อกับกลาง...ระยะนี้ ความคมชัดจะสามารถควบคุมได้ดีที่สุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง 



หน้ากล้อง 11.....โหมด A ขาตั้งกล้อง......โฟกัสไปตรงจุดริมตลิ่งฝั่งตรงกันข้าม ตามหลักการ 1/3


speed 1/90 sec. F11 focal length 20 mm. with C-PL


speed 1/1500 sec. F5.6 focal length 20 mm.


1/250s ar f/10, ISO 100, focal length 73 mm




## มือใหม่ถ่ายภาพเบื้องต้น ตอนที่ 3 ##

ตอนนี้ เรามารู้จักกับ "เส้น" ในภาพกันน่ะครับ

เส้น" ...เป็นตัวหนึ่งที่เราใช้เพื่อสร้าง "อารมณ์" ให้กับภาพ ...การสร้าง เส้น ในภาพมีหลายลักษณะ ....เส้นที่ต่างกันก็ได้อารมณ์ที่ต่างกัน

เส้นทะแยงในภาพถ่าย (ที่ไม่ใช่เส้นนอนราบ กับเส้นตรงแบบตั้งฉากกับขอบภาพด้านหนึ่งด้านใด) ...จะสื่อถึงความตื่นเต้น เร้าใจ มีชีวิตชีวา...บางคนถึงกับบอกว่า เส้นทะแยงในภาพจะทำให้คนมองภาพเกิดจินตนาการไม่สิ้นสุด

ยิ่งถ้าเส้นทะแยง หลาย ๆ เส้น เกิดมาปะทะกันที่จุดตัดเก้าช่อง จะทำให้ภาพสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นด้วยครับ

...........................................

ลองสังเกตุเส้นสายของสายน้ำตกที่ไหลทะแยงลงสู่มุมล่างซ้าย ไปปะทะกับตัวแบบใกล้จุดตัดเก้าช่องซิครับ....เห็นแล้วอยากกระโดดน้ำตกบ้างเปล่าครับ....

เส้นทะแยงของเส้นถนน วิ่งไปที่ไกล ๆ ไม่มีสิ้นสุด ทำให้ภาพลื่นไหลไม่หยุดนิ่ง


ภาพนี้มีเส้นทะแยงหลายเส้น...ที่วิ่งไปรวมกันที่จุดสนใจหลักของภาพ

สังเกตุภาพนี้ มีทั้ง เปิดหน้า จุดตัดเก้าช่อง และ เส้นทะแยง


ภาพนี้สังเกตุเงาจะเป็นแนวทะแยงลงด้านล่างขวา เสาจะเอนไปอีกด้าน เป็นการเล่นกับโครงสร้าง

ตอนถ่ายภาพ...อาศัยการหมุนกล้องเข้าช่วย


จบแล้วครับสำหรับตอนนี้ สั้นๆแต่ได้ใจความนะครับ
"เส้น ... ที่เกิดจาก แสง และ เงา .... จะทรงพลัง มากกว่า เส้นที่เป็นเพียงเส้น" ^ ^ by RBJ


มาต่อกันในตอนต่อไปเลยครับ

เส้นนี้ก็เหมือนกันครับ คือ การจัดองค์ประกอบภาพให้เห็นเป็นเส้นสายโค้ง อาจจะเป็นตัว เอส (S) หรือครึ่งวงกลมก็ได้ครับ....แต่เส้นพวกนี้จะต้องเป็นเส้นหลัก ๆ อาจจะเป็นเส้นสายของแสงเงาก็ยิ่งดีครับ


เห็นเส้นที่นำสายตาเราไปสู่จุดต่าง ๆ มั๊ยครับ...ทำให้ภาพซ๊อพขึ้น
มีเส้นในแนวตั้งของแนวต้นตาลเป็นตัวเบรค....ภาพนี้ เวียนไปเวียนมาหลายวันเลยครับ กว่าจะได้แบบที่เป็นแบบนี้



ภาพนี้ มีเส้นโค้งตัวเอสซ้อนกันหลายตัว เป็นเส้นนำสายตาที่พุ่งไปข้างหน้า
สังเกตุนิดน่ะครับว่า ลักษณะแบบนี้ถือว่ามีการเปิดหน้าแบบไปทางด้านไกลของภาพด้วย(คือการเปิดหน้าไม่จำเป็นต้องเปิดทางด้านขวาหรือซ้ายแต่เพียงระนาบเดียว)


เส้นนำสายตาของทิวหมอกเป็นคลื่นตัวเอส เปิดหน้านำสายตาเราขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของยอดเขา...จุดสนใจหลักยืนอยู่ใกล้เคียงกับจุดตัดเก้าช่อง เปิดหน้าขึ้นสู่ภูเขา 


ต้นตาลยืนอยู่ต้นเดียว...ถ้าเราจับแนวคลื่นเส้นโค้งของเมฆยามเย็นมาใส่ จะทำให้เกิดลีลาน่าสนใจขึ้น


ภาพตัวอย่างครับ