ตอนที่ 2 นี้จะเป็นเรื่องการฝึกการจัดองค์ประกอบน่ะครับ
1. จุดตัดเก้าช่อง เป็นพื้นฐานของการถ่ายภาพสำหรับทุกคนเลยครับ
ท่านผู้รู้บอกว่า.....(ตอนผมถ่ายรูปใหม่ ๆ ก็มีท่านผู้รู้นี่แหล่ะครับ มาบอกเรื่องนี้ )
เราควรวางจุดสนใจหลักของภาพที่มีเพียงหนึ่ง ไว้ที่จุดตัดเก้าช่องเหล่านี้
อย่าพยายามวางจุดสนใจไว้ที่จุดอื่น เช่น จุดกลางเป๊ะ จะทำให้ภาพดูแล้วอึดอัดไม่ชวนมอง
การศึกษาองค์ประกอบภาพ เป็นแค่ความรู้พื้นฐาน...ถ้าเข้าใจ เราสามารถนำไปประยุกต์รูปแบบต่าง ๆ ให้เข้ากับสไตล์ของเราได้อีกมากมาย
ตัวอย่างภาพ.....เป๊ะเลยใช่มั๊ยครับ จุดตัดเก้าช่อง ทางด้านล่างขวา
ลองนึกถึงว่า ถ้าพระรูปนี้ไปอยู่ที่กลางภาพซิครับ...จะน่าดูกว่าแบบนี้หรือไม่ (มันไม่มีเหตุผลไปมากกว่า จิตวิทยาในการมอง...เหมือนกับการอ่านหนังสือ ที่มีการวางช่องไฟที่ลงตัว ทำให้เราอ่านสบายตามากขึ้นนั่นแหล่ะครับ)
ลองนึกถึงว่า ถ้าพระรูปนี้ไปอยู่ที่กลางภาพซิครับ...จะน่าดูกว่าแบบนี้หรือไม่ (มันไม่มีเหตุผลไปมากกว่า จิตวิทยาในการมอง...เหมือนกับการอ่านหนังสือ ที่มีการวางช่องไฟที่ลงตัว ทำให้เราอ่านสบายตามากขึ้นนั่นแหล่ะครับ)
ภาพนี้จุดสนใจ มี สองจุด คือ เด็ก (จุดสนใจหลัก) กับ พระพุทธรูป (จุดสนใจรองลงไป)...ผมวางไว้ที่จุดตัดเก่าช่องทั้งสองจุด
แม้แต่ดอกไม้ เราก็ใช้หลักการนี้เหมือนกันครับ
เรามาต่อเรื่อง "การเปิดหน้า" เลยดีกว่าครับผม
การเปิดหน้า คือ การปล่อยสเปซด้านหน้าแบบให้มากกว่าด้านหลังแบบ
เพื่อไม่ให้สายตาแบบไปชนขอบกรอบภาพ...ทำให้มีพื้นที่ที่แบบมองออกไป
ตัวอย่างภาพ ...สังเกตุดูว่ามีทั้งจุดตัดเก้าช่อง และ เปิดหน้าพร้อม ๆ กันเลยครับ
กลุ่มเรือที่มีคนยืน เป็นกลุ่มจุดสนใจหลัก ...มีการเปิดหน้ามาทางด้านซ้าย
การเปิดหน้า ทำให้ผู้มอง มองเห็นภาพแบบสบายสบาย......
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับตอนที่ 2 ฝึกจิตนการในการจัดองค์ประกอบของภาพ ทำให้ภาพที่ถ่ายออกมานั้นดูมีมิติมีเรื่องราวมากขึ้นครับ
ติดตามต่อในตอนที่ 3 นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น