หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

## มือใหม่ถ่ายภาพเบื้องต้น ตอนที่ 4 ##

     เรียนรู้เรื่องกล้องขั้นพื้นฐาน รู้เรื่องเส้น เรื่องจัดองค์ประกอบ มาพอสมควรแล้วน่ะครับ วันนี้ผมจะเอาเรื่องลูกเล่นเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่มีความสำคัญสำหรับภาพบางประเภทมาให้ได้รู้ได้เล่นกันครับ



ตอนนี้มีหลายเรื่องดังนี้ครับ
1. ฟิลเตอร์ PL, C-PL
2. ฟิลเตอร์สี
3. สปีดชัตเตอร์ ช้า, เร็ว
4. โหมดถ่ายภาพ P S A M


ตอนนี้เป็นเรื่องฟิลเตอร์ครับ

ฟิลเตอร์ก็คือ..ชิ้นส่วนของแผ่นแก้ว หรือแผ่นกระจก หรืออื่น ๆ ที่นำมาใส่ที่หน้าเลนส์เพื่อหวังผลพิเศษบางอย่าง มีหลากหลายชนิดมาก มีทั้งเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม หรือเป็นวงกลมที่สวมเข้าที่หน้าเลนส์ หรือท้ายเลนส์ได้

ที่ผมนำติดตัวไปตลอดเวลา นอกจาก ฟิลเตอร์ยูวีที่ติดมาประจำที่หน้าเลนส์แล้ว ก็ยังมี ฟิลเตอร์ PL (Polarize)

ฟิลเตอร์พีแอล เป็นฟิลเตอร์ที่มีประโยชน์ในแง่การตัดแสงสะท้อนที่สะท้อนออกมาจากผิวของวัตถุที่มีความมัน เวลาใช้ฟิลเตอร์พีแอล จะช่วยกรองแสงสะท้อน ทำให้เราได้สีที่อิ่มตัวมากขึ้น

ใช้กับการถ่ายท้องฟ้าก็จะทำให้ฟ้าเข้มขึ้น

หลักการง่าย ๆ ของฟิลเตอร์ชนิดนี้ คือ ฟิลเตอร์จะมีโครงสร้างของกรอบ 2 ชั้น ชั้นในจะติดเข้าไปทางด้านหน้าเลนส์ อีกชั้นหนึ่งด้านนอกจะเป็นกระจกที่มีฟิล์มของ PL แปะอยู่(เหมือนติดฟิล์มกรองแสงกระจกรถยนต์)

    ไอ้เจ้าตัวฟิล์มที่ว่านี้ จะเป็นสารชนิดหนึ่ง ที่ในขบวนการผลิต เมื่อโดนความร้อนแล้ว จะถูกยืดออกอย่างรวดเร็ว จนโมเลกุลจะจับเรียงตัวเป็นแถว ๆ (เหมือนกองทหารที่ยืนแถวกันอย่างเรียบร้อย)

ดังนั้นเมื่อทหารยืนแถวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าเราจะวิ่งให้ผ่านกองทหาร เราจะต้องวิ่งในแนวที่สามารถสอดไปในระหว่างทหารที่ยืนอยู่ได้ คือต้องทำตัวตรง ๆ เข้าไป

ฟิลเตอร์ที่ดี กองทหารต้องยืนเป็นแถวมีระเบียบ ไม่แตกแถว..ราคาจะแพงด้วย

ถ้าเรากลิ้งเข้าไป จะไปชนกับแนวทหาร ไม่สามารถผ่านได้

แสงก็เหมือนกัน...เมื่อแสงที่มีระนาบมากมายสะท้อนมาหาฟิลเตอร์ มันจะมีแค่บางระนานที่สามารถสอดแทรกเข้าไปในแนวโมเลกุลได้ ระนาบที่เข้ามาแบบเฉียง ๆ จะโดนสะกัดไปมากน้อยต่างกันแล้วแต่มุมที่แสงวิ่งมา

ดังนั้นเมื่อเราใช้ฟิลเตอร์นี่ จึงทำให้ได้แสงที่อิ่มตัวขึ้น

คนที่ชอบถ่ายวิวทิวทัศน์ ดอกไม้..จะมีประโยชน์มากเลยครับ..ลองดูซิครับ แต่ราคาจะแพงไปสักหน่อย ตั้งแต่ 7-800 ไปจนถึงหลาย ๆ พัน

มันจะช่วยลดแสงสะท้อนจากผิวของใบไม้ ทำให้สีที่ใบไม้อิ่มตัวขึ้น สีเขียวเป็นเขียว.....

วิธีใช้ฟิลเตอร์พีแอลง่ายมากครับ...เพราะฟิลเตอร์ชนิดนี้มีกรอบสองชั้น เราก็แค่หมุนฟิลเตอร์ชั้นนอกไปอย่างช้า ๆ (ถ้าให้ดีต้องหมุนในทิศที่สวนกับการหมุนฟิลเตอร์เข้าไปติดกับหน้าเลนส์ เพื่อป้องกันฟิลเตอร์หลุดโดยไม่ทันระวัง) สังเกตุว่าแสงสะท้อนที่วัตถุจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ หมุนจนกว่าได้แสงอิ่มตัว สีสดใสตามใจเราชอบ แล้วหยุด

ต้องจำไว้อย่างหนึ่งว่า เราต้องโฟกัสภาพก่อนเสมอ จึงจะหมุนฟิลเตอร์....ทำไมต้องทำแบบนี้ ?



ภาพนี้ ถ่ายในเวลาไม่ห่างกันมาก...แค่ 1-2 นาที สภาพแสงไม่เปลี่ยน

ด้านซ้ายไม่ใส่ ฟิลเตอร์พีแอล ...สังเกตุเห็นแสงสะท้อนจากใบไม้ว่ามีมากจนเห็นเป็นปื้นสีขาว(แก้ด้วยช๊อพ ยากมากกกกก)

พอเราใส่ฟิลเตอร์เข้าไป หมุนจนแสงสะท้อนถูกตัด..จะได้ภาพที่สีสันอิ่มตัวมากขึ้นครับ

....................................

ระวังว่าฟิลเตอร์พีแอลทำให้แสงถูกกลืนไปบางส่วน...ภาพอาจจะได้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลง ถ้าไม่ระวังอาจจะทำให้ภาพสั่นได้ครับ

ในการถ่ายภาพทิวทัศน์...ฟิลเตอร์ตัวนี้จะตัดแสงสะท้อนจากท้องฟ้า...ทำให้สีของฟ้าเข้มขึ้น ก้อนเมฆดูเป็นกลุ่มก้อนชัดขึ้น



ในการใช้ฟิลเตอร์ตัวนี้ กับการถ่ายภาพที่มีแสงจากดวงอาทิตย์ จะมีหลักการอันหนึ่งก็คือ..."มุมโพลาไรซ์"

ให้เรากางนิ้วชั้กับนิ้วโป้งของเรา....เป็นมุมตั้งฉากกัน

นิ้งโป้งให้ชี้ไปหาดวงอาทิตย์...นิ้งชี้จะชี้ไปทิศ 90 องศารอบรอบดวงอาทิตย์ ทิศที่นิ้วชี้ชี้ไปนี้ ให้แทนแกนของเลนส์...

ทิศที่นิ้วชี้ชี้อยู่นี้ จะให้ผลของโพลาไรซ์ที่ดีที่สุด คือ ถ้าเราถ่ายท้องฟ้าในทิศ 90 องศาจากแกนสู่ดวงอาทิตย์ มุมนี้จะทำให้สีท้องฟ้าเข้มครามมากที่สุด.....

ภาพข้างบนนี้...ผมยืนหันข้างให้ดวงอาทิตย์...ดังนั้น มุมโพลาไรซ์จึงดีที่สุด (นิ้วโป้งจะชี้ดวงอาทิตย์ นิ้วชี้จะชั้ไปในทิศทางเดียวกับแนวของเลนส์ คือชี้ไปที่ท้องฟ้า)

ถ้าหมุนกล้องไปแนวอื่นสีท้องฟ้าจะค่อย ๆ จางลง จนน้อยที่สุดเมื่อมุมเริ่มห่างจาก 90 องศามากที่สุด นั่นก็คือ 0 กับ 180 องศา


ภาพนี้....ผมถ่ายย้อนแสง ดังนั้นแนวของดวงอาทิตย์ กับแนวของแกนของเลนส์ที่ส่องไปที่ตัวแบบ แทบจะทับกัน (อาจจะไม่เกิน 10 องศา) ดังนั้นการใส่ฟิลเตอร์พีแอล จึงไม่มีผลใดใดต่อภาพ(อาจจะมีเล็กน้อยจนไม่สามารถสังเกตุเห็นได้)

การใส่ฟิลเตอร์พีแอล จะทำให้ได้ชัตเตอร์ช้าไปด้วยซ้ำครับ




ภาพนี้ สังเกตุเห็นเงาพระธาตุที่ตกกระทบลงบนฝากระโปรงรถมั๊ยครับ...

ภาพเงาแบบนี้ เกิดจากแสงบางระนาบ(จากหลายๆๆๆระนาบ) ที่สะท้อนจากผิววัตถุออกมาสู่กล้อง (ระนาบอื่น ๆ อาจจะสะท้อนออกไปในทิศทางอื่น..เหลือเพียงระนาบที่ฝ่าแถวทหารเข้ามาได้) เมื่อใช้พีแอลตัด แสงสะท้อนจะหายไปหมดหรือเกือบหมด....

ข้อสังเกตุ...ยิ่งผิวมันเท่าไหร่จะยิ่งสะท้อนได้ดีมากเท่านั้น เพราะผิวเรียบ และเราก็หวังผลจากพีแอลได้มากขึ้นด้วย.... 



ภาพนี้สังเกตุการจัดองค์ประกอบ....ผมวางเรือลำใหญ่ไว้ที่จุดตัดเก้าช่อง(โดยประมาณ) มีเส้นโค้ง มีการเปิดหน้า เส้นขอบฟ้าไม่เอียง ...ทบทวนบทเรียน

ภาพนี้มีดวงอาทิตย์อยู่ทางขวาบน.....ผมยกมือซ้ายขึ้นมา กางนิ้วชี้กับนิ้วโป้งออกจากกัน ทำมุมประมาณ 90 องศา นิ้วโป้งจะต้องชี้ไปที่ดวงอาทิตย์เสมอ เพื่อจะดูว่านิ้วชี้ชี้ไปที่ทิศไหน ปรากฏว่านิ้วชี้ชี้ไปที่หมายเลข 1 ดังนั้นมุมโพลาไรซ์ที่ดีที่สุด ที่เมื่อหมุนฟิลเตอร์พีแอลแล้วจะตัดแสงได้ดีที่สุด ท้องฟ้าจะเข้มที่สุดคือที่บริเวณหมายเลข 1 ...ส่วนบริเวณหมายเลข 2 มุมโพลาไรซ์จะไม่ดี เพราะมุมน้อยกว่า 90 องศา ภาพที่ได้ ท้องฟ้าจะจืดกว่าที่บริเวณ เลข 1

เพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง หมายเลข 1 ไม่จำเพาะต้องอยู่เฉพาะจุดนี้เท่านั้น มีหลายพื้นที่บริเวณรอบรอบดวงอาทิตย์ เหมือนเราหมุนวงเวียนที่มีจุดหลักปักที่ดวงอาทิตย์(นิ้วโป้ง) แล้วหมุนนิ้งชี้ให้ทำมุม 90 องศา กับนิ้วโป้ง



Originally Posted by MAN-GB View Post
มันมี2แบบใช่ป่าวครับ PL กับ C-PL หรือว่ามันเหมือนกัน
ไม่เหมือนกันครับ.. PL ใช้กับกล้องที่เป็นแมนนวลโฟกัส ส่วน CPL ใช้กับกล้องออโต้โฟกัส..เหตุผลเท่าที่ทราบ เพราะการวางตัวของตัวเซนเซอร์ในกล้องไม่เหมือนกัน

ผมเคยซื้อ PL มาใส่ออโต้โฟกัส (สะเพร่า) ...ปรากฏว่าถ่ายปกติไม่มีปัญหา แต่พอไปเจอสภาพแสงที่มีเรื่องกระจกเข้ามาเกี่ยวข้อง สีจะเพี้ยนเลยครับ....คงเกี่ยวเนื่องกับตัวเซนเซอร์ที่ว่าแหล่ะครับ...(แต่ไม่รู้แบบละเอียด)


Originally Posted by p-orbital View Post
ขอถามอาจารย์หมอสองข้อนะครับ
ข้อแรกพี่ Man-GB ถามไปแล้ว C-PL เหมือนกับ PL ไหมครับ
ข้อสอง ทำไมเวลาผมมองท้องฟ้า จะรู้สึกว่าด้านที่่ตรงข้ามกับพระิอาทิตย์ ฟ้าจะเข้มที่สุดล่ะครับ ทั้งๆที่มันเป็นมุม 180 องศา ไม่ใช่ 90 ใช่เพราะว่ามันไม่ย้อนแสงหรือเปล่า ไม่รู้ว่าคำถามข้อนี้จะเชื่อมโยงกับ PL ได้ไหมครับ
คงต้องแยกประเด็นกันให้ดีน่ะครับผมว่า

     ท้องฟ้าที่เข้มที่สุดถ้ามองด้วยตาเปล่า แน่นอนว่าต้องเป็นฝั่งตรงข้ามพระอาทิตย์ เพราะได้รับแสงน้อย

แต่...ฟิลเตอร์ PL นี่ พูดถึงผลของการตัดแสงสะท้อนออกจากสภาพธรรมชาติให้ได้เปอร์เซนต์จากเดิมมากที่สุดเท่านั้นน่ะครับ....

เช่นสมมุติที่ ๙๐ องศา หมุนพีแอลแล้วตัดได้ ๔๕ % แต่ที่ ๑๘๐ องศา อาจจะตัดได้แค่ ๕ % (แต่ฟ้าที่ ๑๘๐ องศา อาจจะเข้มกว่าที่ ๙๐ องศา เพราะได้รับแสงน้อยกว่า)
แต่ถ้าสังเกตุลึกลงไป...ที่ ๙๐ องศาจะมีมิติที่ดีกว่าที่ ๑๘๐ องศา...



     บทนี้เป็นเรื่องฟิลเตอร์อีกอันหนึ่ง ที่กลุ่มใช้กล้องฟิลม์รู้จักกันดี คือ ฟิลเตอร์สี ที่เอามาบังหน้าเลนส์(กล้องดิจิตัลอาจจะไม่ค่อยรู้จัก เพราะมาใส่สีทีหลังจากโฟโต้ช๊อพได้)

ฟิลเตอร์สีที่ผมมักเอาติดตัว คือ ฟิลเตอร์ที่เรียกว่า ฟิลเตอร์เกรตดูเอท ....เป็นฟิลเตอร์แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสีหลายสีให้เราเลือก ซีกบนหนึ่งสี ซีกล่างหนึ่งสี สีสองสีจะไม่ตัดกันเด็ดขาด แต่จะค่อย ๆ ไล่โทน เช่น สีขาวใสแล้วค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีส้ม....

เท่าที่เห็นมักมีสองแผ่น คือ สีส้มครึ่งซีก กับสีเทาครึ่งซีก(ไว้ลดแสงสว่างที่ท้องฟ้า เพื่อไม่ให้ต่างจากพื้นดินมากนัก)


เป็นภาพพระตำหนักที่ปากพนัง...เวลาราวราว 2 ทุ่ม ใช้ขาตั้งกล้อง

ผมสังเกตุเห็นแสงที่สะท้อนลงน้ำค่อนข้างเยอะ และสีสว่างมากไป จึงใช้เกรตดูเอทฟิลเตอร์สีส้ม ปิดด้านล่าง ไล่โทนมาทางด้านบนซึ่งไม่มีสี....

ภาพที่ได้ ส่วนบนจะไม่มีผลจากฟิลเตอร์ เพราะไปซ้อนกับตรงส่วนใสใสของแผ่นฟิลเตอร์ แต่ทางด้านล่างจะเปลี่ยนเป็นสีที่เราใส่เข้าไป

การวัดแสง ต้องวัดตรงด้านบนให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วค่อยใส่แผ่นฟิลเตอร์เข้าไปที่หลัง....(เข้าใจมั๊ยครับ ?)





ไอ้แบบกลมกลมน่ะ ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ เพราะขนาดค่อนข้างตายตัว จะเลื่อนขึ้นลงก็จำกัด เพราะต้องใส่เข้าไปในหน้าเลนส์เลยครับ...ส่วนเป็นแผ่นก็ควรเป็นแบบไล่โทน เราเลื่อนขึ้นลงได้สะดวก ว่าจะเอาสีตรงส่วนไหนของภาพ เช่น ถ่ายทะเล บางทีเราเอาท้องฟ้าแค่ 1/3 ของภาพ เราก็เลื่อนแถบสีให้ได้ตามที่เราจัดองค์ประกอบภาพ

1. แนะนำแบบนี้ครับ เป็นการไล่โทน

2. แบบนี้ สีจะตัดกัน ถ้าถ่ายรูปใช้รูรับแสงแคบ ๆ อาจจะเห็นรอยต่อชัดเจน

3. ฟิลเตอร์เกรตดูเอทสีเทาที่นิยมใช้ลดแสงสว่างของท้องฟ้า

4. Holder ที่ใช้ใส่ที่หน้าเลนส์ ก่อนหาฟิลเตอร์มาใส่ที่ร่องอีกทีหนึ่ง 



ตามรูป....

วัตถุที่ 1 ผิวไม่เรียบ สมมุติว่าเป็นก้อนหิน

วัตถุที่ 2 ผิวเรียบ สมมุติเป็นผิวน้ำ

วัตถุที่ 1 เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบ จะสะท้อนออกมาไม่เป็นระเบียบ หลายทิศทางมาก...จึงไม่เห็นเงาของวัตถุอื่นในผิวก้อนหิน หมุน PL ไปทิศไหน ก็ไม่แตกต่างกัน

วัตถุที่ 2 เมื่อโดนแสง จะสะท้อนออกมาเป็นระเบียบ ในทิศทางเกือบจะเป็นทิศทางเดียวกัน เมื่อเราหมุน PL คือแค่จัดแถวกองทหารเสียใหม่ ก็จะสะกัดแสงได้ทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดครับ



เรามาเรียนเรื่องความเร็วชัตเตอร์กันกันต่อน่ะครับ


ความเร็วชัตเตอร์ ผมแบ่งง่าย ๆ แบบลูกทุ่ง เป็น 2 กลุ่ม คือ ชัตเตอร์ช้า กับชัตเตอร์เร็ว

ชัตเตอร์ช้า ก็คือ เราบังคับชัตเตอร์ให้ช้า จะช้าเท่าไหร่ก็ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของงานที่เราจะถ่าย ส่วนใหญ่ เป็นได้ตั้งแต่ 1/30 วินาที ลงไป จนถึงหลาย ๆๆๆๆ นาที หรือเป็นชั่วโมง ...ไม่มีอะไรตายตัว

การใช้ชัตเตอร์ช้า โดยทั่วไปเราทราบน่ะครับว่า ต้องใช้ขาตั้งกล้องเข้าช่วย

เมื่อไหร่จะใช้ขาตั้งกล้องช่วย......"เมื่อความเร็วต่ำกว่าทางยาวโฟกัส"...

คือถ้าเราใช้ทางยาวโฟกัส 200 เราก็ไม่ควรใช้ความเร็วต่ำกว่า 200

ถ้าใช้เลนส์ 50 มม. ก็ไม่ควรให้ความเร็วต่ำกว่า 50

แต่ถ้าเป็นเลนส์ IS ที่มีตัวลดการสั่นเวลากดชัตเตอร์ ก็อาจจะยินยอมให้ต่ำกว่าค่านี้อีกเท่าตัว เช่น เลนส์ 125 แทนที่ค่าต่ำสุดของความไวชัตเตอร์เป็น 125 ก็อาจจะลดไปได้ถึง 60 โดยไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้องเข้าช่วย

แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเข้าช่วย....ก็จะทำให้ภาพสมบูรณ์ขึ้น

แล้วเราจะตั้งชัตเตอร์ช้า ๆ ได้อย่างไร

1.เปิดหน้ากล้องให้แคบ ๆ เข้าไว้

2. ใช้ค่าไวแสงต่ำ ๆ

3. ถ่ายในที่มืด



ในโหมด M มีชัตเตอร์ B ให้เราเล่น

ภาพนี้ผมใช้ขาตั้งกล้อง รูรับแสง 8 ASA 100 เลนส์มินอลต้า 28 มม. ไม่ใส่ฟิลเตอร์ใดใดทั้งสิ้น

โฟกัสล่วงหน้าไปที่ ดวงไฟที่ศาลา....จัดองค์ประกอบ รอจนเห็นแสงพลุวิ่งขึ้นไป ก่อนจะแตกผมก็กดชัตเตอร์...กดค้างไว้จนพลุแตก แล้วเริ่มคล้อยต่ำลง จึงปล่อยชัตเตอร์

เป็นตัวอย่างของภาพจากการใช้ชัตเตอร์ช้า ประมาณ 5 วินาที



ขาตั้งกล้อง...โหมด M ..ฟิลเตอร์ PL เปิดรูรับแสงแคบ ๆ เช่น 16 ได้ชัตเตอร์ประมาณ 8 ....หมุน PL ให้ตัดแสงสะท้อนที่ผิวน้ำ และใบไม้ เพื่อให้เห็นสีอิ่มตัวขึ้น 



ภาพนี้ต้องการให้เห็นเมฆไหลแบบนุ่ม ๆ จึงใช้ชัตเตอร์ที่ 4 วินาที ขาตั้งกล้อง


ภาพนี้ iso100
shutter B 
Focus MF สุดกระบอกเลนส์
F 8




F 11 S 1/11

ไม่มีความคิดเห็น: